การบรรยายเรื่อง “ความรับผิดทางอาญาของรัฐมนตรีและประธานาธิบดี”
โดย Professor Dominique Rousseau ศาสตราจารย์วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ มหาวิทยาลัยปารีส1ปองเตอง-ซอร์บอน
ผู้บรรยายมีความยินดีที่ได้มาบรรยายในหัวข้อความรับผิดของผู้ปกครอง โดยเฉพาะรัฐมนตรี และประธานาธิบดี
ความรับผิดของนักการเมืองในกฎหมายรัฐธรรมนูญมีความสำคัญมาก โดยมีเหตุผลสำคัญ ๒ ประการ
ประการแรก คือ ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจและความรับผิด ผู้ที่ต้องตัดสินใจทางการเมืองที่จะต้องผูกพันรัฐ ก็จะต้องมีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น ความรับผิดชอบก็คือการตอบสนองต่อสิ่งที่ตนเองได้ตัดสินใจ การตัดสินใจทุกอย่างต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ โดยความรับผิดผู้ที่ต้องตอบคำถามก็คือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจนั้นเอง เพื่อให้เกิดดุลยภาพของระบบทางรัฐธรรมนูญ การตัดสินใจต้องควบคู่ไปกับความรับผิดเสมอ เมื่อมีความรับผิดจะทำให้เกิดดุลยภาพขึ้น
ประการที่สอง ความสำคัญของความรับผิดของผู้ที่ตัดสินใจทางการเมืองซึ่งเป็นหลักที่รองรับไว้โดยรัฐธรรมนูญ โดยหลักการแรกคือ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักประการที่สอง คือ หลักการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง
หลักการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง คือผู้ปกครองนั่นเอง
ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดี เพื่อป้องกันมิให้เกิดการร้องเรียนหรือการดำเนินคดีที่มีมากเกินไป เพราะรัฐมนตรีและประธานาธิบดีมักจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีที่มีมากเกินไปโดยไม่สมเหตุผล จึงต้องมีหลักการนี้เพื่อปกป้องการทำงานของผู้ปกครอง
ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีหรือประธานาธิบดี เพื่อป้องกันมิให้เกิดการร้องเรียนหรือการดำเนินคดีที่มีมากเกินไป เพราะรัฐมนตรีและประธานาธิบดีมักจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีที่มีมากเกินไปโดยไม่สมเหตุผล จึงต้องมีหลักการนี้เพื่อปกป้องการทำงานของผู้ปกครอง
อย่างไรก็ตาม มีหลักสำคัญประการที่สองที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าหลักการแรกคือ หลักความเสมอภาคของบุคคลตามกฎหมาย หลักการนี้ก็ทำให้เกิดผลที่ว่าพลเมืองทุกคน ไม่ว่าจะมีอาชีพอะไร ไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรี อาจารย์มหาวิทยาลัย ทนายความ คนขับรถ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์และหลักความยุติธรรมเดียวกัน
ตามมาตรา ๖ ของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ปี ๑๗๘๙ บัญญัติว่ากฎหมายต้องบังคับใช้เหมือนกันสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะมีขึ้นเพื่อคุ้มครองหรือเพื่อลงโทษ
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการทั้งสองประการคือ หลักการความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครองและหลักการความเสมอภาคของทุกคนต่อหน้ากฎหมาย ทำให้เกิดความยุ่งยากและซับซ้อนในการที่จะคิดระบบทางรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่อให้เกิดความรับผิดของผู้ปกครอง หลักการแรกทำให้ผู้ปกครองมีสิทธิประโยชน์มากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาลหรือเรื่องความคุ้มครองระหว่างอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ กล่าวคือทำให้ผู้ปกครองไม่ถูกพิจารณาพิพากษาโดยผู้พิพากษาในกรณีคดีปกติ ไม่ถูกตัดสินโดยกระบวนวิธีพิจารณาแบบเดียวกันและไม่ถูกลงโทษแบบเดียวกัน ดังนั้นสิทธิประโยชน์ที่ผู้ปกครองได้ตามหลักการประการแรกจึงขัดแย้งกับหลักการประการที่สอง คือหลักความเสมอภาค ถ้าเราพิจารณาพิพากษาคดีของผู้ปกครองในแบบเดียวกับประชาชน เท่ากับเราไม่ถือหลักการประการแรก คือหลักความคุ้มครองแก่ผู้ปกครอง ดังนั้น หน้าที่ความรับผิดชอบของนักกฎหมายคือค้นหาดุลยภาพระหว่างหลักการทั้งสองประการนี้ คือไม่ให้หลักการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ปกครองไม่ขัดแย้งกับหลักความเสมอภาค จึงเห็นได้ชัดว่าดุลยภาพนี้ยากที่จะค้นหา ดังนั้น ระบบที่จะหาความรับผิดของผู้ปกครองจึงมีการถกเถียงกันอยู่เสมอ ในฝรั่งเศสมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อค้นหาดุลยภาพนี้ให้ออกมาดีที่สุด
สถานะปัจจุบันของกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบของรัฐมนตรีและประธานาธิบดี
ความรับผิดของรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี มีความรับผิดหลายประเภท คือ
๑. ความรับผิดทางการเมือง บัญญัติในมาตรา ๔๙ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญ มีเพื่อให้สภาผู้แทนราษฎรลงโทษรัฐบาลในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาเมื่อมีการลงมติเกิดขึ้นตามมาตรา ๕๑ ก็จะมีบทบังคับให้รัฐบาลต้องออกจากตำแหน่ง
ทุกวันนี้ความรับผิดทางการเมืองเป็นไปในแนวทางเดียวกับความรับผิดทางอาญา ยกตัวอย่างเช่น
ในสหราชอาณาจักรหรือฝรั่งเศส ความรับผิดของรัฐมนตรีมักจะเริ่มต้นด้วยความรับผิดทางอาญาก่อน หลังจากนั้นจะมีความรับผิดทางการเมืองเกิดขึ้นตามมา ในยุคเริ่มแรกของการปกครองในระบอบรัฐสภา เกิดความสับสนผสมกันระหว่างความรับผิดทางอาญา และความรับผิดทางการเมือง
ในสหราชอาณาจักรหรือฝรั่งเศส ความรับผิดของรัฐมนตรีมักจะเริ่มต้นด้วยความรับผิดทางอาญาก่อน หลังจากนั้นจะมีความรับผิดทางการเมืองเกิดขึ้นตามมา ในยุคเริ่มแรกของการปกครองในระบอบรัฐสภา เกิดความสับสนผสมกันระหว่างความรับผิดทางอาญา และความรับผิดทางการเมือง
๒. ความรับผิดทางอาญา ในฝรั่งเศสความรับผิดทางอาญาถูกบัญญัติตามมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดให้มีวิธีพิจารณาแตกต่างจากวิธีพิจารณาความในกฎหมายทั่วไป เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดที่รัฐมนตรีได้กระทำขึ้นในขณะดำรงตำแหน่งหน้าที่อยู่ เป็นวิธีพิจารณาความพิเศษที่แตกต่างจากกฎหมายทั่วไป ได้กำหนดรายละเอียดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในปี ๑๙๙๓ การแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้เกิดจากปัญหาในคดีที่มีชื่อว่า “เลือดที่มีการปนเปื้อน” (French’s Infected blood scandal) กล่าวคือมีการบริจาค/ขายเลือดของนักโทษในคุกซึ่งเป็นเลือดที่มีเชื้อ HIV หรือเลือดของผู้ป่วยโรคมะเร็งปนเปื้อนอยู่ด้วย จึงเกิดคำถามว่ารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบในกรณีนี้หรือไม่ โดยเฉพาะความผิดทางอาญาที่ไม่ควบคุมการเก็บเลือดและวิธีการบริจาคเลือดให้ถูกต้อง
ระบบที่ว่าด้วยความรับผิดของรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี ถูกบัญญัติในมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญ กำหนดว่ารัฐมนตรีจะต้องรับผิดทางอาญาไม่ใช่ในศาลปกติ แต่เป็นศาลพิเศษที่เรียกว่า “ศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐ” โดยศาลดังกล่าวประกอบไปด้วยผู้พิพากษาจำนวน ๑๕ ท่าน ซึ่งผู้บรรยายเห็นว่าเป็นปัญหา เนื่องจากมีผู้พิพากษาจำนวน ๑๒ ท่าน ถูกเลือกจากสมาชิกรัฐสภา โดยผู้เลือกสรรก็เป็นสมาชิกรัฐสภาด้วยกันเอง ส่วนที่เหลืออีก ๓ ท่าน เป็นผู้พิพากษาจากศาลฎีกา ศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐจึงมีสถานะพิเศษอยู่ ซึ่งไม่อาจแน่ใจว่าเป็นศาลที่แท้จริงหรือเป็นศาลทางการเมือง เพราะองค์ประกอบของศาลนั้นมีทั้งสมาชิกรัฐสภาและผู้พิพากษารวมกันอยู่ และจะเห็นได้ว่าสมาชิกรัฐสภามีจำนวนมากกว่าผู้พิพากษาถึง ๑๒ ต่อ ๓
มาตรา ๖๘ บัญญัติเพิ่มเติมอีกว่าประธานของศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐจะต้องเลือกจากผู้พิพากษาอาชีพจำนวน ๓ คน
มาตรา ๖๘ บัญญัติเพิ่มเติมอีกว่าประธานของศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐจะต้องเลือกจากผู้พิพากษาอาชีพจำนวน ๓ คน
ผู้บรรยายได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประธานศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐที่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก โดยได้รับการบอกกล่าวว่าเป็นงานที่ยากจนแทบเป็นไปไม่ได้ แม้ว่าประธานจะเป็นผู้พิพากษาอาชีพ แต่เนื่องจากมีจำนวนน้อยกว่าสมาชิกรัฐสภาก็อยู่ในสถานะที่น่าอึดอัดใจ ดังนั้นสมาชิกของรัฐบาลก็จะต้องถูกพิพากษาในลักษณะนี้ ซึ่งผู้บรรยายเห็นว่าควรจะต้องมีการตั้งคำถามต่อสถานะของศาลดังกล่าว
วิธีพิจารณาคดีในศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐ
๑. ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาล คือใครก็ตามที่คิดว่าตนได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดทางอาญาของรัฐมนตรี เช่นในคดี “เลือดที่มีการปนเปื้อน” นั้น ผู้ยื่นคำร้องคือบิดาของเหยื่อรายหนึ่ง ผู้บรรยายมีข้อสังเกตว่า ผู้ใดก็ตามที่สามารถยื่นคำร้องได้ต้องเป็นกรณีที่การกระทำความผิดของรัฐมนตรีได้เกิดขึ้นในระหว่างดำรงตำแหน่งหน้าที่ การจะให้นิยามว่าอย่างไรจึงจะเป็นความผิดทางอาญานั้นให้พิจารณาตามกฎหมายอาญา เพราะฉะนั้นการกระทำความผิดตามกฎหมายอาญาของรัฐมนตรีจึงเป็นฐานความผิดกรณีเดียวกับคนทั่วไป ดังนั้นศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐจะต้องพิพากษาความผิดต่างๆให้เป็นไปตามฐานความผิดที่ได้นิยามไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ไม่สามารถที่จะคิดค้นฐานความผิดใหม่ขึ้นมาแทนได้
๒. คำร้องนั้น จะถูกพิจารณาในขั้นแรกโดยคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน ๓ คน ผู้พิพากษาศาลปกครองสูงสุดจำนวน ๒ คน และผู้พิพากษาจากศาลบัญชีจำนวน ๒ คน คณะกรรมการนี้มีหน้าที่ในการตรวจดูว่าคำร้องมีความน่าเชื่อถือหรือมีความหนักแน่นหรือไม่ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการคัดกรองคำร้องก่อนที่จะมีคำพิพากษา คณะกรรมการดังกล่าวจะให้ความเห็นว่าจะดำเนินคดีในศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐได้หรือไม่ โดยจะยื่นความเห็นต่ออัยการสูงสุด
๓. อัยการสูงสุดจะเป็นผู้พิจารณาโดยอาศัยความเห็นของคณะกรรมการว่าจะต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐหรือไม่ เมื่อคำร้องไปถึงศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐจะมีการตั้งคณะไต่สวนอันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน ๓ คน เพื่อตัดสินใจว่าจะมีการดำเนินคดีต่อไปหรือไม่ หากมีการดำเนินคดีต่อไป ก็จะมีการพิจารณาพิพากษาโดยศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐ
กล่าวโดยสรุปจะแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน ดังนี้
(๑) การพิจารณาว่าคำร้องนั้นมีความน่าชื่อถือหรือไม่
(๒) การไต่สวนคำร้อง
(๓) การพิพากษา
โดยสองขั้นตอนแรกจะดำเนินการโดยผู้พิพากษาอาชีพ ส่วนขั้นตอนการพิพากษาจะดำเนินการโดยคณะผู้พิพากษาที่มีนักการเมืองเป็นเสียงข้างมาก
จากวิธีพิจารณานี้จะเห็นได้ว่าทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างสองหลักการคือ หลักความคุ้มครองที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง คือการจัดให้มีคณะกรรมการคัดกรองคำร้อง และหลักความเสมอภาคที่กำหนดให้ผู้ปกครองจะต้องถูกดำเนินคดีตามฐานความผิดเดียวกับคนทั่วไป
ศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐที่จัดตั้งขึ้นในปี ๑๙๙๓ นั้นได้มีการพิจารณาคดีไปแล้วหลายครั้ง เช่น ในปี ๑๙๙๙ เป็นครั้งแรกที่มีการดำเนินคดีในศาลนี้โดยเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่อง “เลือดที่มีการปนเปื้อน” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้นเป็นผู้ถูกดำเนินคดี ซึ่งในที่สุดศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐมีคำพิพากษาไม่ดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดังกล่าว อย่างไรก็ตามแม้ว่าศาลจะพิพากษาให้ลงโทษโดยหลักการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่ศาลเห็นว่ารัฐมนตรีคนดังกล่าวไม่ต้องรับโทษ เนื่องจากไม่ได้ถูกคุ้มครองโดยการสันนิษฐานว่าไม่มีความผิด คำพิพากษาดังกล่าวทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่เห็นด้วยต่อคำตัดสิน แม้ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่ต้องรับโทษนั้น แสดงให้เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับองค์ประกอบของศาลที่มีนักการเมืองเป็นจำนวนมาก
แนวคิดที่ว่าศาลจำเป็นต้องลงโทษรัฐมนตรีผู้นี้ แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและองค์ประกอบของศาลที่เป็นนักการเมืองจำนวนมากทำให้ไม่ต้องรับโทษ จากกรณีดังกล่าวนี้ นักวิชาการผู้เริ่มแนวคิดที่จะให้มีศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐและเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้มีการจัดตั้งศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐ ได้ลงบทความในหนังสือพิมพ์กล่าวว่าตนได้ทำผิดพลาดไป เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนั้นไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ดี เพราะทำให้เกิดศาลที่มีองค์ประกอบกึ่งตุลาการกึ่งการเมืองขึ้นมา แม้จะมีคำวิจารณ์ดังกล่าว ศาลยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐ ก็ยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้
อีกคดีหนึ่งเกิดขึ้นในปี ๒๐๐๐ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ในระหว่างที่มีการแถลงข่าวได้กล่าวหาอาจารย์ในโรงเรียนแห่งหนึ่งว่าส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กเกิดการกลั่นแกล้งและมีการใช้ความรุนแรงระหว่างกันขึ้น อาจารย์ผู้ถูกกล่าวหาได้ยื่นคำร้องให้มีการไต่สวนและดำเนินคดีซึ่งศาลก็ได้มีคำพิพากษายกฟ้องรัฐมนตรีดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าไม่มีความผิด เพราะได้มีการนำหลักฐานมาแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ผู้ถูกกล่าวหาได้มีการส่งเสริมให้เด็กก่อความรุนแรงขึ้นจริง
คดีสุดท้ายเกิดขึ้นในปี ๒๐๐๔ ศาลได้ลงโทษรัฐมนตรีช่วยซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับคนพิการ โดยรัฐมนตรีคนดังกล่าวได้ยักยอกเงินของกระทรวงไปอุดหนุนให้แก่สมาคมซึ่งตนเป็นประธาน เป็นเงินจำนวน
๑.๓ ล้านยูโร รัฐมนตรีคนดังกล่าวถูกลงโทษให้จำคุกเป็นระยะเวลา ๓ ปี แต่ได้รับการรอลงอาญาและถูกปรับเงินเป็นจำนวน ๒๐,๐๐๐ ยูโร และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและไม่มีสิทธิเลือกตั้งเป็นระยะเวลา ๕ ปี
๑.๓ ล้านยูโร รัฐมนตรีคนดังกล่าวถูกลงโทษให้จำคุกเป็นระยะเวลา ๓ ปี แต่ได้รับการรอลงอาญาและถูกปรับเงินเป็นจำนวน ๒๐,๐๐๐ ยูโร และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองและไม่มีสิทธิเลือกตั้งเป็นระยะเวลา ๕ ปี
สถานะของระบบกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของรัฐมนตรียังคงเป็นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมในปี ๑๙๙๓ เช่นเดิม แม้จะได้รับเสียงวิจารณ์มากมาย อย่างไรก็ตามได้มีข้อเสนอให้มีการปฏิรูประบบดังกล่าวขึ้นในปี ๒๐๑๒ โดยคณะกรรมการที่ว่าด้วยการปฏิรูปการทำให้การเมืองของฝรั่งเศสร่วมสมัย แต่ยังเป็นเพียงข้อเสนอ
ข้อสังเกตของผู้บรรยาย เมื่อทำการเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่ยังเป็นระบอบกษัตริย์อยู่หรือประเทศที่เป็นระบอบสาธารณรัฐ ความรับผิดทางอาญาของคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่แล้วยังเป็นวิธีพิจารณาคดีที่แตกต่างจากกฎหมายทั่วไป ยกเว้นแต่ในสหราชอาณาจักรและเดนมาร์กที่ยังใช้วิธีพิจารณาคดีทั่วไป
ความรับผิดของประธานาธิบดี (ประมุขแห่งรัฐ)
ด้วยเหตุผลเดียวกันกับการดำเนินคดีกับรัฐมนตรี ระบบกฎหมายเกี่ยวกับประธานาธิบดีได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากภายใต้สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ ๕ ในปี ๑๙๕๘ ซึ่งเป็นปีที่รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ ๕ มีผลใช้บังคับ หลักการคือประธานาธิบดีไม่ต้องรับผิด หลักดังกล่าวยังคงมีผลบังคับใช้ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน การไม่ต้องรับผิดของประมุขของรัฐเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยการปกครองในระบบกษัตริย์ ในสมัยที่ฝรั่งเศสปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้วกลับมาใช้ระบอบกษัตริย์อีกครั้ง การปกครองในระบอบรัฐสภาผู้ที่รับผิดไม่ใช่กษัตริย์ แต่เป็นนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้มีอาจตัดสินใจในทางการเมือง ตามที่ผู้บรรยายได้กล่าวไว้แล้วว่าการการตัดสินใจใดๆและความรับผิดเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน ในเมื่อประมุขของรัฐไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจ ดังนั้นจึงไม่ต้องมีความรับผิด
จุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงมีที่มาจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีภายใต้สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ ๕ จากที่ประธานาธิบดีมีแต่เพียงหน้าที่ที่เป็นพิธีการ กลายเป็นประธานาธิบดีที่มีหน้าที่ตัดสินใจทางการเมือง ทำให้หลักการไม่ต้องรับผิดของประมุขของรัฐเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ประธานาธิบดีได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้ทำงานเชิงรับมาเป็นผู้ทำงานเชิงรุก
เหตุผลสองประการที่ทำให้หลักการไม่ต้องรับผิดของประธานาธิบดีของรัฐล้าสมัยและใช้การไม่ได้อีกต่อไป
ประการที่หนึ่ง บุคลิกของนายพลชาร์ล เดอโกล ในสี่ปีแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างปี ๑๙๕๘ – ๑๙๖๒ ปัญหาของฝรั่งเศสในขณะนั้นมีอยู่เรื่องเดียวคือจะทำอย่างไรจึงจะจบสงครามในอัลจีเรียได้ ประธานาธิบดีเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีได้ นายพลชาร์ล เดอโกล จึงใช้วิธีทำประชามติปรึกษาพลเมืองโดยตรง โดยทำประชามติ ๓ ครั้ง ในระยะเวลา ๔ ปี ในขณะนั้นประธานาธิบดีจึงเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ และเป็นผู้ที่เอาความรับผิดชอบของตนไปปรึกษากับประชาชน
ประการที่สอง คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในปี ๑๙๖๒ ทำให้การเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการทั่วไปและเป็นการเลือกตั้งโดยตรง ส่งผลให้ประธานาธิบดีมีความชอบธรรมทางการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประธานาธิบดีนอกจากจะเป็นประมุขของรัฐแล้วยังเป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารอีกด้วย การมีอำนาจเพิ่มขึ้นของประธานาธิบดีทำให้ประธานาธิบดีเป็นศูนย์กลางของระบบ ทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับหลักการไม่ต้องรับผิดของประธานาธิบดีขึ้น ซึ่งเหตุผลสืบเนื่องมาจากวิวัฒนาการอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี
การเปลี่ยนแปลงในอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบกฎหมาย
การเปลี่ยนแปลงในอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบกฎหมาย
ความรับผิดทางรัฐธรรมนูญของประมุขแห่งรัฐ
ความรับผิดทางการเมืองเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีและรัฐบาล คือนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลต้องรับผิดทางการเมืองต่อรัฐสภา ไม่ว่าจะตัดสินใจเรื่องใดก็ตาม ส่วนประธานาธิบดีไม่สามารถรับผิดทางการเมืองได้ ยกเว้นในกรณีที่ขาดการออกเสียงของประชาชน ตัวอย่างเช่น นายพลชาร์ล เดอโกล ในปี ๑๙๖๙ ได้เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและประชาชนลงมติไม่เห็นด้วยในเรื่องดังกล่าว ทำให้ประธานาธิบดีต้องลาออกจากตำแหน่ง หรือในปี ๑๙๘๑ และ ปี ๒๐๑๒ ประชาชนก็ได้ลงโทษประธานาธิบดีเช่นเดียวกัน เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายของประธานาธิบดี
ความรับผิดทางรัฐธรรมนูญคือการดำเนินการกับประธานาธิบดีในกรณีที่ประธานาธิบดีไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ถ้าประธานาธิบดีได้ทำการตัดสินใจทางการเมือง ไม่ว่าประธานาธิบดีจะมาจากแนวคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยม สังคมนิยม เรื่องดังกล่าวก็ไม่เกี่ยวข้องกับความรับผิดทางรัฐธรรมนูญของของประธานาธิบดี เพราะความรับผิดทางรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับเนื้อหาของนโยบาย แต่เป็นเรื่องวิธีการหรือการดำเนินการของประธานาธิบดี ที่จะต้องทำตามอำนาจหน้าที่ที่ถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ความรับผิดทางรัฐธรรมนูญของประมุขแห่งรัฐถูกบัญญัติในมาตรา ๖๘ ของรัฐธรรมนูญ เรื่องดังกล่าวถูกแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นมาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ๒๐๐๗ และมีผลบังคับใช้อย่างแท้จริงด้วยรัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในเดือนธันวาคม ปี ๒๐๑๔ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ใหม่มาก มาตรา ๖๘ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดของประธานาธิบดี ประธานาธิบดีต้องรับผิดในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับการดำรงตำแหน่ง
ก่อนปี ๒๐๐๗ ประธานาธิบดีจะต้องรับผิดในกรณีที่เป็นการทรยศต่อชาติอย่างร้ายแรง เพราะฉะนั้นความรับผิดของประธานาธิบดีก็ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการทรยศต่อชาติ เป็นความผิดที่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความผิดในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากนิยามของคำว่าทรยศต่อชาติมีความไม่ชัดเจนไม่แน่นอน ซึ่งคำว่าทรยศต่อชาติน่าจะมีความหมายว่าเป็นการร่วมมือกับรัฐต่างชาติ การร่วมมือกับรัฐที่เป็นศัตรูต่อฝรั่งเศส เหตุการณ์ที่พอจะเทียบเคียงกับเรื่องของการทรยศขายชาติได้ เช่นในกรณีของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๖ เรียกร้องให้ราชวงศ์ต่างๆในยุโรปเข้ามาสู้รบกับระบอบของฝรั่งเศสที่ปฏิวัติสำเร็จแล้ว และกรณีของนายพลเปแต็งซึ่งเป็นประมุขของรัฐได้ร่วมมือกับฮิตเลอร์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นต้น ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงฐานความผิดใหม่จากการทรยศต่อชาติเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตน
การไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนหมายความว่าอย่างไร นิยามของคำว่าอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดีได้ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ประธานาธิบดีต้องดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ (เคารพรัฐธรรมนูญ) จะต้องทำให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นปกติของอำนาจรัฐจะต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องของรัฐ จะต้องป้องกันให้รัฐมีอิสรภาพและบูรณภาพของดินแดน เมื่อใดก็ตามที่ประธานาธิบดีไม่ปฏิบัติตามหน้าที่เหล่านี้แล้ว ก็สามารถที่จะดำเนินการให้เกิดความรับผิดตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีได้ ในกรณีนี้ประธานาธิบดีจะต้องถูกให้ออกจากตำแหน่งโดยที่ไม่ได้เกิดจากคำพิพากษาหรือมีการพิจารณาคดี
โดยศาลยุติธรรมชั้นสูงจะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องดังกล่าว โดยกระบวนการในการพิจารณาคดีจะเริ่มจากการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เพื่อที่จะกล่าวหาว่าประธานาธิบดีมีความผิด
ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องมีมติทั้งสองสภาว่าประธานาธิบดีไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตน ทั้งสองสภาจำเป็นต้องลงมติแยกกันด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ๒ ใน ๓ ของแต่ละสภา ถ้าทั้งสองสภาได้มีการลงมติว่าจะกล่าวหาประธานาธิบดีว่าทำความผิดแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยจะเป็นหน้าที่ของศาลสูงแห่งสาธารณรัฐที่จะเป็นผู้ลงมติให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง ศาลสูงที่ว่าคือที่ประชุมอันประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะจัดประชุมที่
พระราชวังแวร์ซาย เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาได้รวมกับศาลสูง แล้วก็จะต้องลงมติด้วยคะแนนเสียง ๒ ใน ๓ เพื่อให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง
โดยศาลยุติธรรมชั้นสูงจะเป็นผู้พิจารณาในเรื่องดังกล่าว โดยกระบวนการในการพิจารณาคดีจะเริ่มจากการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เพื่อที่จะกล่าวหาว่าประธานาธิบดีมีความผิด
ทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องมีมติทั้งสองสภาว่าประธานาธิบดีไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตน ทั้งสองสภาจำเป็นต้องลงมติแยกกันด้วยคะแนนเสียงข้างมาก ๒ ใน ๓ ของแต่ละสภา ถ้าทั้งสองสภาได้มีการลงมติว่าจะกล่าวหาประธานาธิบดีว่าทำความผิดแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการถอดถอนออกจากตำแหน่งโดยจะเป็นหน้าที่ของศาลสูงแห่งสาธารณรัฐที่จะเป็นผู้ลงมติให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง ศาลสูงที่ว่าคือที่ประชุมอันประกอบไปด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งจะจัดประชุมที่
พระราชวังแวร์ซาย เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาได้รวมกับศาลสูง แล้วก็จะต้องลงมติด้วยคะแนนเสียง ๒ ใน ๓ เพื่อให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง
ความสำคัญของเรื่องนี้คือ ประธานาธิบดีจะไม่ถูกพิพากษา แม้จะมีชื่อว่าเป็นศาลสูงแห่งสาธารณรัฐ แต่แท้จริงแล้วกระบวนการพิจารณาไม่มีลักษณะเป็นศาล ไม่มีการโต้แย้งระหว่างคู่ความ ไม่มีการไต่สวน เป็นเพียงการลงมติว่าจะถอดถอนประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งหรือไม่เท่านั้น
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ความจำเป็นที่จะต้องใช้เสียงข้างมากถึง ๒ ใน ๓ เพื่อหลีกเลี่ยงการลงมติแบบอาศัยพวกพ้อง โดยฝ่ายค้านอย่างเดียวไม่สามารถที่จะลงมติเพื่อกล่าวหา หรือเพื่อให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งได้ เนื่องจากในฝรั่งเศสไม่มีพรรคการเมืองใดที่มีเสียงข้างมากถึง ๒ ใน ๓ ในสภา การลงมติให้ออกจากตำแหน่งจึงจำเป็นต้องอาศัยทั้งเสียงของฝ่ายบริหารและเสียงของฝ่ายค้านเมื่อประธานาธิบดีไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนอย่างร้ายแรง
ระบบนี้ถูกกำหนดขึ้นในปี ๒๐๐๗ จากการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่จะเห็นได้ว่ารัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จะทำให้ระบบนี้มีผลบังคับใช้อย่างแท้จริงถูกตราขึ้นในปี ๒๐๑๔ จะเห็นได้ว่าใช้ระยะเวลาถึงเจ็ดปีในการออกกฎหมายเรื่องนี้ให้มีผลบังคับใช้เกิดขึ้น กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่กำหนดเรื่องการดำเนินการและระบบเกี่ยวกับการกล่าวหาและการให้ประธานาธิบดีออกจากตำแหน่ง ถ้ามองอย่างเป็นรูปธรรมแล้วจะเห็นได้ว่าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวทำให้อดีตประธานาธิบดีนิโคลาร์ ซาร์โกซี ไม่ต้องรับผิด เพราะซาร์โกซีดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างปี ๒๐๐๗ – ๒๐๑๔ แม้ว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้วในปี ๒๐๐๗ อย่างไรก็ตามรัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จะทำให้มีผลใช้บังคับจริงไม่ได้ถูกตราขึ้นในระยะเวลาดังกล่าว
การพิจารณาเรื่องความรับผิดทางรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีอาจสามารถเทียบเคียงได้กับกระบวนการ Impeachment ในสหรัฐอเมริกา
ความรับผิดทางศาลของประธานาธิบดี
ในเรื่องนี้จะเป็นการตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะกำหนดให้มีความรับผิดทางอาญาและทางแพ่งของประธานาธิบดีในระหว่างที่ประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งอยู่ เช่น ในกรณีที่ประธานาธิบดีหย่าร้างกับคู่สมรสและมีปัญหาเรื่องสิทธิในการดูแลบุตรหรือการจ่ายค่าเลี้ยงดู หรือในกรณีที่ประธานาธิบดีขับรถฝ่าไฟแดง ประธานาธิบดีจะถูกดำเนินคดีได้หรือไม่ ในเรื่องดังกล่าวได้มีความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างศาลฎีกาและคณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส โดยคณะกรรมการฯได้มีคำวินิจฉัยเมื่อเดือนมกราคม
๑๙๙๙ ส่วนศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อเดือนตุลาคม ๒๐๐๑ ความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างศาลทั้งสองจึงทำให้เกิดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในปี ๒๐๐๗ ขึ้น
๑๙๙๙ ส่วนศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อเดือนตุลาคม ๒๐๐๑ ความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างศาลทั้งสองจึงทำให้เกิดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในปี ๒๐๐๗ ขึ้น
หลักการในเรื่องนี้คือ หลักการละเมิดไม่ได้ของประธานาธิบดีไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรือทางอาญา ในระหว่างที่ประธานาธิบดียังดำรงตำแหน่งอยู่ มาตรา ๖๗ บัญญัติเอาไว้ชัดเจนว่าประธานาธิบดีในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่ว่าระเป็นศาล หรือองค์กรอิสระใดๆก็ตาม ไม่สามารถถูกเรียกไปเป็นพยาน ไม่สามารถถูกเรียกไปให้ข้อมูล ไต่สวน หรือดำเนินคดีได้ เป็นการยืนยันหลักฐานที่ว่าประธานาธิบดีจะถูกละเมิดไม่ได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามมาตรา ๖๗ ได้บัญญัติเพิ่มเติมว่าการดำเนินคดีและการไต่สวนซึ่งห้ามกระทำระว่างที่ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งนั้น สามารถดำเนินการได้หลังจากที่การดำรงตำแหน่งสิ้นสุดลงในศาลปกติ
จะเห็นได้ว่าระบบกฎหมายที่ว่าด้วยความรับผิดของผู้ปกครองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นอยู่กับบทบาทของผู้ปกครองในการกำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการปกครองประเทศ
ยิ่งบทบาทที่มากขึ้นก็จะมีความรับผิดชอบมากขึ้น
ยิ่งบทบาทที่มากขึ้นก็จะมีความรับผิดชอบมากขึ้น
ในเรื่องดังกล่าวมีความเสี่ยงหรืออันตรายของระบบการปกครอง/ระบบรัฐธรรมนูญของประเทศได้ ในกรณีที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างสิ่งที่สังคมรับรู้กับสิ่งที่กฎหมายพยายามจะจัดโครงสร้างให้มีความรับผิดของผู้ปกครอง
จากการบรรยายจะเห็นได้ว่าทั้งการดำเนินการให้ความรับผิดของรัฐมนตรีและประธานาธิบดีต้องกระทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างสิทธิประโยชน์ของผู้ปกครองกับหลักความเสมอภาคอ ย่างไรก็ตามในปัจจุบัน
ในสังคมฝรั่งเศสผู้บรรยายพบว่าผู้คนเริ่มที่จะอึดอัดหรือเพิกเฉยต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ปกครองกับหลักความเสมอภาค ในความเห็นของผู้บรรยายจึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบหรือคิดค้นระบบความรับผิดของผู้ปกครองใหม่ โดยเป็นระบบที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่ระบบความรับผิดที่เกิดขึ้นโดยสื่อมวลชน มีรัฐมนตรีฝรั่งเศสหลายคนที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ทั้งนี้ไม่เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่เกิดขึ้นในสื่อต่างๆ ผู้บรรยายเห็นว่าเป็นหน้าที่ของกฎหมายที่จะต้องจัดโครงสร้างหรืออกแบบให้ดุลยภาพใหม่อยู่ระหว่างสิทธิประโยชน์ของผู้ปกครองและหลักความเสมอภาค
ในสังคมฝรั่งเศสผู้บรรยายพบว่าผู้คนเริ่มที่จะอึดอัดหรือเพิกเฉยต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ปกครองกับหลักความเสมอภาค ในความเห็นของผู้บรรยายจึงจำเป็นที่จะต้องออกแบบหรือคิดค้นระบบความรับผิดของผู้ปกครองใหม่ โดยเป็นระบบที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่ระบบความรับผิดที่เกิดขึ้นโดยสื่อมวลชน มีรัฐมนตรีฝรั่งเศสหลายคนที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิด แต่ทั้งนี้ไม่เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่เกิดขึ้นในสื่อต่างๆ ผู้บรรยายเห็นว่าเป็นหน้าที่ของกฎหมายที่จะต้องจัดโครงสร้างหรืออกแบบให้ดุลยภาพใหม่อยู่ระหว่างสิทธิประโยชน์ของผู้ปกครองและหลักความเสมอภาค
ชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว บันทึกการบรรยายเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๘
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น