วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2554

ฎีกาตัดสินเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่  868/2554
พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด
     โจทก์
นายนิติวัฒน์ ตันติอมรพงษ์
     จำเลย

ป.อ. มาตรา 56, 78, 340 วรรคแรก

          การขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น อาจขู่ตรง ๆ หรือใช้ถ้อยคำ ทำกิริยา หรือทำประการใดให้เข้าใจได้เช่นนั้น เป็นการแสดงให้ผู้ถูกขู่เข็ญเข้าใจว่าจะรับภัยจากการกระทำของผู้ขู่เข็ญการที่จำเลยกับพวกบังคับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหาย โดย ม. พวกของจำเลยทำท่าทางเหมือนจะชักอาวุธออกมาโดยล้วงเข้าไปในเสื้อบริเวณเอว แม้มิได้ใช้กำลังประทุษร้าย มิได้ใช้อาวุธมาขู่บังคับหรือพูดว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ตาม แต่กิริยาท่าทีของ ม. ดังกล่าว เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย ทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจำเลยกับพวกจะใช้กำลังประทุษร้ายจึงต้องจำยอมให้โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่จำเลยกับพวกไป การกระทำของจำเลยกับพวกครบองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว
          ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุไม่เกิน 20 ปี และกระทำผิดโดยมิได้ใช้อาวุธลักษณะเป็นการกระทำของวัยรุ่นที่คึกคะนอง ทั้งจำเลยให้การรับสารภาพตลอดมาและชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย 20,000 บาท ผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ปรากฏว่าจำเลยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย

________________________________

          โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ให้จำเลยคืนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยี่ห้อโซนี่ อิริคสัน รุ่น W 620 I จำนวน เครื่อง หรือหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาจำนวน 10,000 บาท แก่ผู้เสียหาย
          จำเลยให้การรับสารภาพ
          ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคแรก ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 19 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 จำคุก ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลย ปีเดือน ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยคืนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยี่ห้อโซนี่ อิริคสัน รุ่น W 610 I จำนวน เครื่อง หรือหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาจำนวน 10,000 บาท แก่ผู้เสียหายนั้น ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาว่าจำเลยได้ใช้เงินค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงิน 10,000 บาทแล้ว จึงให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (7) วรรคแรก ลดมาตราส่วนโทษแล้ว จำคุก ปี และปรับ 4,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก ปี และปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ปี และคุมความประพฤติของจำเลยไว้มีกำหนด ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก เดือน ต่อครั้ง เป็นเวลา ปี และให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา 18 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...การขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้น อาจขู่ตรง ๆ หรือใช้ถ้อยคำ ทำกิริยา หรือทำประการใดให้เข้าใจได้เช่นนั้น เป็นการแสดงให้ผู้ถูกขู่เข็ญเข้าใจว่าจะได้รับภัยจากการกระทำของผู้ขู่เข็ญ การที่จำเลยกับพวกบังคับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายโดยนายมาทฐวุฒิพวกของจำเลยทำท่าทางเหมือนจะชักอาวุธออกมาโดยล้วงเข้าไปในเสื้อบริเวณเอว แม้มิได้ใช้กำลังประทุษร้าย มิได้ใช้อาวุธมาขู่บังคับหรือพูดว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายก็ตาม แต่กิริยาท่าทีของนายมาทฐวุฒิที่ทำท่าทางเหมือนกับจะชักอาวุธออกมานั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการขู่บังคับ ประกอบกับผู้เสียหายเบิกความว่าเหตุที่มอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้นายมาทฐวุฒิ เพราะเกรงว่าจะถูกทำร้าย อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายทำให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวว่าจำเลยกับพวกจะใช้กำลังประทุษร้าย จึงต้องจำยอมให้โทรศัพท์เคลื่อนที่แก่จำเลยกับพวกไป การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวครบองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น อย่างไรก็ตามจำเลยกระทำความผิดในขณะอายุไม่เกิน 20 ปี และร่วมกระทำความผิดโดยเพียงแต่ร่วมกันบังคับเอาโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายไป โดยจำเลยกับพวกมิได้ใช้อาวุธมาขู่บังคับ และจำเลยมิได้เป็นผู้พูดว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย พฤติการณ์แห่งความผิดของจำเลยไม่ร้ายแรงนัก ลักษณะเป็นการกระทำของวัยรุ่นที่คึกคะนอง ประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพตลอดมาแสดงว่ารู้สำนึกในความผิดที่ได้กระทำ ทั้งได้มอบเงินจำนวน 20,000 บาท ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายจนผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความแก่จำเลยแล้ว นับว่าจำเลยได้พยายามบรรเทาผลร้ายแห่งการกระทำของตน ทั้งปรากฏตามใบรับรองสภาพการเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงว่าจำเลยกำลังศึกษาเล่าเรียน ประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งและคุมความประพฤติของจำเลยไว้ด้วย”
          พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคแรก ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ลงโทษจำคุก ปี และปรับ 15,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก ปี เดือน และปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ให้คุมความประพฤติของจำเลยไว้ ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก เดือนต่อครั้ง ให้จำเลยละเว้นการคบหาสมาคมหรือการประพฤติใดอันอาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันอีก กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา30 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์




( ชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว - นพพร โพธิรังสิยากร - สุทธิโชค เทพไตรรัตน์ )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น