คำพิพากษา
วัดอนามัยเกษม โจทก์
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ที่ ๑๙๓๙/๒๕๕๑ ศาลฎีกา
วันที่ ๓ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๑
ความแพ่ง

ระหว่าง
นายหมิ้น หมั่นสู้
โดยนางสมถวิล หมั่นสู้
ผู้เข้าเป็นคู่ความแทน ที่ ๑
นายวิบูลย์หรือกิตติพันธ์ พูลวรลักษณ์
ที่ ๒
นายวิเศษ พูลวรลักษณ์
ที่ ๓
ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
(มหาชน) ที่ ๔ จำเลย
เรื่อง ที่ดิน ขับไล่
ละเมิด
จำเลยทั้งสี่
ฎีกาคัดค้าน คำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘
|
ลงวันที่
|
๒๙
|
เดือน
|
เมษายน
|
พุทธศักราช
|
๒๕๔๘
|
ศาลฎีกา
|
รับวันที่
|
๑๔
|
เดือน
|
กุมภาพันธ์
|
พุทธศักราช
|
๒๕๔๙
|
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลโดยเป็นวัดในพุทธศาสนา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
มีพระอธิการสหัส สิรินธโร
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้นางนริศรา นำชัยเจนกิจ
ดำเนินคดีแทน จำเลยที่ ๔
เป็นนิติบุคคล ประเภทบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อปี
๒๕๑๖ นายอุ่น เอกวานิช
ยกที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
เนื้อที่ประมาณ ๒๑ ไร่ ให้โจทก์
ที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือ
ทิศใต้
และทิศตะวันออกจดที่ดินของผู้ที่มีชื่อ ทิศตะวันตกจดชายทะเล
โจทก์เข้าครอบครองทำรั้วแสดงแนวเขตที่ดินไว้ ที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ประเภทที่ธรณีสงฆ์ ต่อมปี
๒๕๒๑ จำเลยที่ ๑
ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ทับที่ดินของโจทก์ดังกล่าวด้านทิศใต้บางส่วน เป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๐
ไร่ โดยจำเลยที่ ๑ แจ้งให้เจ้าพนักงานพิสูจน์สอบสวนจดข้อความอันเป็นเท็จลงในแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศว่าจำเลยที่ ๑ ซื้อที่ดินจากนายจำรัส กองทัพ
และครอบครองทำประโยชน์ประมาณ
๘ ปี ซึ่งความจริงแล้วนายจำรัสและจำเลยที่ ๑
ไม่เคยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว
เจ้าพนักงานหลงเชื่อจึงออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ตำบลเชิงทะเล
อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ให้แก่จำเลยที่ ๑ โจทก์คัดค้านการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ ๑
ตกลงแบ่งที่ดินส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ให้แก่โจทก์ซึ่งจะต้องไปดำเนินการรังวัดตรวจสอบทำแผนที่ให้แน่นอน แต่หลังจากนั้นจำเลยที่ ๑
เพิกเฉยไม่ยอมรังวัดตรวจสอบทำแผนที่ตามที่ตกลง
โจทก์ตรวจสอบเองพบว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ออกทับที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๐
ไร่ และจำเลยที่ ๑
เข้าปลูกสร้างโรงเรือนและสิ่งก่อสร้างในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยปกติสุข ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม
๒๕๓๑ จำเลยที่ ๑
จดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว ในส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ด้านทิศใต้ออกเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๔๙๕
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่
๕ ไร่ ๒ งาน ๒๑
ตารางวา และเมื่อวันที่ ๔
มกราคม ๒๕๓๒ จำเลยที่ ๑
สมคบกับจำเลยที่ ๒ และที่
๓ จดทะเบียนโอนขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕
ให้แก่จำเลยที่ ๒ และที่
๓ โดยไม่สุจริต จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดิน และต่อมาจำเลยที่ ๑
สมคบกับจำเลยที่ ๔ โดยจำเลยที่ ๑
จดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๓๔๗
ส่วนที่เหลือไว้กับจำเลยที่ ๔ สองครั้งโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ที่ดินของโจทก์ส่วนที่จำเลยที่ ๑
ทำละเมิดสามารถให้บุคคลอื่นเช่าได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าปีละ ๑,๐๐๐,๐๐๐
บาท ที่ดินส่วนที่จำเลยที่ ๒
และที่ ๓ ทำละเมิดสามารถให้เช่าได้ไม่ต่ำกว่าปีละ ๑,๕๐๐,๐๐๐
บาท โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ ๑ เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ สัญญาซื้อขาย
สัญญาจำนองดังกล่าว ให้
จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓
รื้อถอนขนย้ายทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างพร้อมบริวารออกจากที่ดินแล้ว แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉย ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๓๔๗
และ ๑๔๙๕ ตำบลเชิงทะเล
อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต นิติกรรมการขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕
ระหว่างจำเลยที่ ๑ กับจำเลยที่ ๒
และที่ ๓
นิติกรรมการจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่
๑๓๔๗ ระหว่างจำเลยที่ ๑
กับจำเลยที่ ๔ ขับไล่จำเลยที่ ๑ ถึง
ที่ ๓
พร้อมบริวารกับรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗
และ ๑๔๙๕ ในส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ห้ามมิให้ยุ่งเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์อีกต่อไป ให้จำเลยที่
๑ ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจาก
วันฟ้องปีละ ๑,๐๐๐,๐๐๐
บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕
ต่อปี ให้จำเลยที่ ๒ และที่ ๓ ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องปีละ ๑,๕๐๐,๐๐๐
บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕
ต่อปี จนกว่าจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ จะรื้อถอนขนย้ายทรัพย์สิน
ออกจากที่ดินของโจทก์
จำเลยที่ ๑
ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเนื่องจากโจทก์ไม่ระบุให้แน่ชัดว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ ๑
ทับที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่เท่าใด กว้างยาวเท่าใด ที่ดินส่วนไหนของจำเลยที่ ๑
ทับที่ดินของโจทก์ นายอุ่น เอกวานิช
เป็นเพียงผู้มีสิทธิทำเหมืองแร่ในที่ดินซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ ๓
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตามประทานบัตรที่ทางราชการออกให้ มิใช่เจ้าของที่ดินจึงไม่มีสิทธิยกที่ดินให้โจทก์และไม่มีหลักฐานการยกให้ เดิมที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ เนื้อที่ ๑๘
ไร่ ๒ งาน
๒๑ ตารางวา เป็นที่ดินมือเปล่าของนายจำรัส กองทัพ
จำเลยที่ ๑ ซื้อที่ดินดังกล่าวจากนายจำรัสเมื่อปี ๒๕๑๓ และเข้าครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องตลอดมา การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เป็นไปตามขั้นตอนที่ทางราชการกำหนดและไม่ได้ออกทับที่ดินธรณีสงฆ์ของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์
โจทก์ก็ไม่เคยยึดถือครอบครอง
ทำประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท
ถือว่าโจทก์สละการครอบครองแล้วการครอบครองของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๓๗๗ และโจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองเกินกำหนด ๑ ปี
นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง
ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนการครอบครอง จำเลยที่ ๑
เป็นเจ้าของที่ดินมีสิทธิจดทะเบียนแบ่งแยกขายและจำนองไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่
๑ บุกรุกเนื้อที่ ๔
ไร่เศษ หากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินปีละ ๔๐,๐๐๐
บาท ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ และที่ ๓
ให้การว่า
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ชอบเพราะไม่ปรากฏลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและตราประทับของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะที่ดินที่โจทก์อ้างว่านายอุ่น เอกวานิช
ยกให้โจทก์นั้นไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนว่าแนวเขตทั้งสี่ด้านจดที่ดินของบุคคลใดบ้าง ที่ดินที่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓
ซื้อจากจำเลยที่ ๑
เป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่โจทก์ได้รับการยกให้จำเลยที่
๒ และที่ ๓
ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๑ โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ก่อนซื้อ
ได้ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารสิทธิแล้ว และในการแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายให้จำเลยที่
๒ และที่ ๓
ไม่มีผู้ใดคัดค้าน
ที่ดินดังกล่าวหากให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่เกินปีละ
๓,๐๐๐ บาท ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๔
ให้การว่า จำเลยที่ ๑
เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต มีสิทธนำไปจำนองโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่
๔ รับจำนองโดยสุจริตและเสีย
ค่าตอบแทน โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนอง ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
โจทก์อุทธรณ์
ระหว่างพิจารณาจำเลยที่ ๑
ถึงแก่กรรม โจทก์ยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกนางสมถวิล หมั่นสู้
ภริยาจำเลยที่ ๑ เข้าเป็นคู่ความแทน ศาลอุทธรณ์ภาค
๘ มีคำสั่งตั้งบุคคลผู้ถูกเรียกเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ ๑
ศาลอุทธรณ์ภาค ๘
พิพากษากลับว่า ที่ดินพิพาทที่ระบายด้วยดินสอตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.๑
เป็นของโจทก์ ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ ๑
กับจำเลยที่ ๒ และที่
๓ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สัญญาจำนองที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ ๑
กับจำเลยที่ ๔ เฉพาะส่วนที่ทับที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ พร้อมบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ให้จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ปีละ ๑๐๐,๐๐๐
บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ ๗.๕
ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ ๑
จะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินของโจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสี่ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามสำเนาหนังสือรับรองสภาพวัดเอกสารหมาย จ.๒
มีพระอธิการสหัส สิรินธโร เป็นเจ้าอาวาสมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ตามสำเนาหนังสือตราตั้งเจ้าอาวาส เอกสารหมาย จ.๓
จำเลยที่ ๔ เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.๔
เมื่อปี ๒๕๑๒ นายอุ่น
เอกวานิช ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่บริเวณหมู่ที่ ๓
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
เข้าขุดแร่ในที่ดินบริเวณที่ชักพระของโจทก์เนื้อที่ประมาณ
๓
ไร่
นายอุ่นตกลงให้เงินแก่โจทก์
๓๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างเมรุเผาศพและจะยกที่ดินให้โจทก์ประมาณ ๒๐
ไร่ ปี ๒๕๑๖
นายอุ่นขุดแร่เสร็จได้ให้นายสมชาย ตันติปาลีพันธ์ และนายจงเต็ก
ธรรมประดิษฐ์ คนงานของนายอุ่นดำเนินการรังวัดปักหลักเขตเป็นแนวที่ดินและทำแผนที่สังเขปแสดงอาณาเขตที่ดินเนื้อที่ประมาณ ๒๑
ไร่ ตามรูปแผนที่เอกสารหมาย จ.๕
มอบให้แก่โจทก์โดยนายดุสิต ลิ่มชูเชื้อ
กำนันตำบลเชิงทะเลขณะนั้นเป็นตัวแทนโจทก์รับมอบที่ดิน หลังจากนั้น
คณะกรรมการของโจทก์เข้าปลูกต้นมะพร้าวกับต้นมะม่วงหิมพานต์ในที่ดิน ต่อมาปี
๒๕๑๙ จำเลยที่ ๑
บุกรุกเข้าไปในที่ดินบางส่วนของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่ โดยทำลายหลักเขตและตัดต้นมะม่วงหิมพานต์ โจทก์ร้องเรียนไปที่อำเภอถลางแล้ว แต่ทางการ
ไม่สามารถแก้ไขให้ได้ ปี
๒๕๒๐
โจทก์มอบให้ไวยาวัจกรไปขอเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว แต่เจ้าพนักงานไม่ออกเอกสารสิทธิให้อ้างว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการครอบครองที่ดิน ปรากฏว่าระหว่างนั้นจำเลยที่ ๑
ขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินที่บุกรุกทับที่ดิน
บางส่วนของโจทก์ดังกล่าวและเจ้าพนักงานได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่
๑๓๔๗ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ ๑๘
ไร่ ๒ งาน
๒๐ ตารางวา ตามเอกสารหมาย
จ.๗ ให้จำเลยที่ ๑
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวออกทับที่ดินของโจทก์ประมาณ ๑๐
ไร่ โจทก์คัดค้านและร้องเรียนการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อมามีการทำบันทึกข้อตกลงกัน ณ
ที่ว่าการอำเภอถลาง โดยจำเลยที่
๑
ยอมแบ่งที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้โจทก์ตามที่ตกลงกันโดยไม่มีเงื่อนไขแต่ประการใด โดยจะไปทำการรังวัดตรวจสอบทำแผนที่ให้เป็นการละเอียดต่อไปตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.๘ แต่หลังจากนั้นจำเลยที่ ๑
ไม่ดำเนินการรังวัดตรวจสอบตามที่ตกลง
โจทก์มีหนังสือร้องเรียนไปอีกหลายครั้งตามเอกสารหมาย จ.๙
ถึง จ.๑๑ ต่อมาอำเภอถลางอ้างว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ราชพัสดุสมควรเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ของจำเลยที่
๑ ดังกล่าว ปี ๒๕๓๑
จำเลยที่ ๑
แบ่งแยกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ เป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕ เนื้อที่
๕ ไร่ ๒
งาน ๒๑ ตารางวา
ตามเอกสารหมาย จ.๑๙ แล้วขายที่ดินที่แบ่งแยกให้แก่จำเลยที่ ๒ และที่ ๓
และจดทะเบียนจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ส่วนที่เหลือจำนวน ๑๒ ไร่ ๓
งาน ๙๙ ตารางวา
ไว้กับจำเลยที่ ๔ จำเลยที่
๑
ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธินำไปขายหรือจำนอง
จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ นำสืบว่า
เมื่อปี ๒๕๑๓ จำเลยที่
๑ ซื้อที่ดินมือเปล่าตั้งอยู่หมู่ที่ ๓
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
เนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่
จากนายจำรัส กองทัพ ตามสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.๑๖
ต่อมาปี ๒๕๒๑
จำเลยที่ ๑ ขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว เจ้าพนักงานที่ดินสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์แล้วออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ให้แก่จำเลยที่ ๑
ตามเอกสารหมาย จ.๗ หลังจากนั้นโจทก์โต้แย้งคัดค้านและขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวอ้างว่าออกทับที่ดินของโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ ๑
ตกลงกันตามบันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย
จ.๘ โดยต้องไปทำการรังวัดตรวจสอบว่าการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นทับที่ดินของโจทก์หรือไม่
แต่ต่อมาอำเภอถลางแจ้งว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ของจำเลยที่
๑
ทับที่ราชพัสดุจึงไม่มีการดำเนินการตามที่ตกลงกับโจทก์ นอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วจำเลยที่ ๑
ยังซื้อที่ดินในบริเวณที่ดินพิพาทจากบุคคลอื่น
เป็นจำนวนมากตามสำเนาสัญญาซื้อขายและโอนสิทธิครอบครองที่ดินเอกสารหมาย ล.๑๘ ถึง
ล.๒๑ เมื่อปี ๒๕๓๑
จำเลยที่ ๑ แบ่งแยกที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ เป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕ เนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ แล้วขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ ๒
และที่ ๓ และจำนองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ส่วนที่เหลือไว้กับจำเลยที่ ๔
โจทก์ไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท
จำเลยที่ ๔
นำสืบว่า
ก่อนจดทะเบียนรับจำนองที่ดิน
จำเลยที่ ๔ ได้ตรวจสอบแล้วเป็นที่ดินของจำเลยที่ ๑
จริง แต่จำเลยที่ ๔ ไม่ทราบว่ามีการพิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑
จำเลยที่ ๔ รับจำนองโดยสุจริต
พิเคราะห์แล้ว
ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า
จำเลยที่ ๑ มีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ ๑๘ ไร่ ๒
งาน ๒๐ ตารางวา
โดยหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวออกเมื่อวันที่ ๑๖
พฤษภาคม ๒๕๒๑ ต่อมาวันที่ ๒๐
ธันวาคม ๒๕๓๑ จำเลยที่
๑
แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕ เป็นเนื้อที่
๕ ไร่ ๒
งาน ๒๑ ตารางวา
ตามรายการจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.๗
ครั้นวันที่ ๔ มกราคม
๒๕๓๒ จำเลยที่ ๑
ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส.๓ก.) เลขที่ ๑๔๙๕
แก่จำเลยที่ ๒ และที่
๓
ตามรายการจดทะเบียนในหนังสือรับรอง
การทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.๑๙
สำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่
๑๓๔๗ ที่เหลืออีก ๑๒
ไร่ ๓ งาน
๙๙ ตารางวา จำเลยที่
๑ ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ ๔
เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม
๒๕๓๘ ตามรายการ
จดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.๗
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นคู่ความขอให้ศาลสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาท เจ้าพนักงานที่ดินได้ทำแผนที่พิพาทส่งศาลตามเอกสารหมาย จ.ล. ๑
ซึ่งระบุว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์อยู่ภายในเส้นสีเหลือง ที่ดินของจำเลยที่ ๑ ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ อยู่ภายในเส้นสีเขียว ส่วนที่ดินของจำเลยที่ ๒
และที่ ๓ ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๔๙๕ อยู่ภายในเส้นสีม่วง สำหรับที่ดินพิพาทคือส่วนที่ศาลชั้นต้นแรเงาด้วยเส้นดินสอในเส้นสีเขียวและเส้นสีม่วงในแผนที่พิพาท
ที่จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ ฎีกาว่า
โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนรับฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลชั้นต้น
จึงชอบที่จะยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้นั้น เห็นว่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยที่
๑
ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๓๔๗
ทับที่ดินของโจทก์เป็นเนื้อที่ประมาณ
๑๐ ไร่ ต่อมาจำเลยที่
๑ ได้แบ่งแยก
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่
๑๔๙๕ เนื้อที่ ๕ ไร่ ๒
งาน ๒๑ ตารางวา
แล้วขายแก่จำเลย ที่ ๒
และที่ ๓ จำเลยที่
๑ ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ ๑
ส่วนจำเลยที่ ๒ และที่
๓
ให้การต่อสู้ว่าได้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ ๑
โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่ ข้อนำสืบของจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ ที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ เป็นการนำสืบนอกประเด็น ดังนั้น
ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ และนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๑๔๒ (๕) ไม่ได้
เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๘๗ (๑) คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๘
ที่วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ชอบนั้น ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓
ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสี่ต่อไปว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ปรากฏตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล. ๑
ว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งอยู่ในเขตที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗
ของจำเลยที่ ๑
และอีกส่วนหนึ่งอยู่ในเขตที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.) เลขที่
๑๔๙๕ ของจำเลยที่ ๒
และที่ ๓ จำเลยที่
๑ ถึงที่ ๓
ผู้มีชื่อในทะเบียนที่ดินจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๓๗๓ แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด
หากโจทก์นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ย่อมตกไป ในปัญหานี้โจทก์มีนางนริศรา นำชัยเจนกิจ
ผู้รับมอบอำนาจ
จากโจทก์มาเบิกความว่า เมื่อปี
๒๕๑๒ นายอุ่น เอกวานิช
ซึ่งประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ได้ให้สัญญาไว้แก่โจทก์ว่าจะยกที่ดินเนื้อที่ประมาณ ๒๑
ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต
ให้แก่โจทก์เพื่อแลกกับการที่โจทก์ยอมให้
นายอุ่นขุดแร่ในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ ๓
ไร่ และนายอุ่นสัญญาว่าจะให้เงินแก่โจทก์เพื่อสร้างเมรุเผาศพจำนวน ๓๐,๐๐๐
บาท ด้วย ต่อมาปี
๒๕๑๖ นายอุ่นขุดแร่ในที่ดินของโจทก์เสร็จแล้วจึงคืนที่ดิน ๓
ไร่ แก่โจทก์ พร้อมทั้งยกที่ดินเนื้อที่ประมาณ ๒๑
ไร่ ตามรูปแผนที่เอกสารหมาย จ.๕
ให้แก่โจทก์ นายสำราญ สระบัว และนายสุชิน ตะเคียนทอง
พยานโจทก์เบิกความว่า พยานทั้งสองรู้เห็นการที่นายอุ่นยกที่ดินให้โจทก์ดังกล่าวโดยกรรมการโจทก์ได้ไปรับมอบที่บ้านนายดุสิต ลิ่มชูเชื้อ
กำนันตำบลเชิงทะเล
ในวันรับมอบที่ดินนายอุ่นได้มอบรูปแผนที่ตามเอกสารหมาย จ.๕
ให้ด้วย และนายอุ่นได้ปักหลักปูนซีเมนต์เป็นแนวเขตไว้ประมาณ ๒๐
จุด ภายหลังรับมอบที่ดินแล้วโจทก์ได้ปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์และต้นมะพร้าวไว้ในที่ดินดังกล่าวและปักหลักเขตเพิ่มเติมเนื่องจากหลักเขตบางส่วนถูกทำลาย นายจงเต็ก
ธรรมประดิษฐ์ พยานโจทก์เบิกความว่า พยานเป็นลูกจ้างของบริษัทเอกวานิช จำกัด
ตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี
จนถึงขณะเบิกความเมื่อปี ๒๕๔๒
บริษัทดังกล่าวมีนายอุ่นเป็นกรรมการผู้จัดการ เกี่ยวกับคดีนี้นายอุ่นมอบให้พยานดำเนินการรังวัดที่ดินเพื่อส่งมอบให้แก่วัดโจทก์ พยานไปดูขณะที่นายสมชาย ตันติปาลีพันธ์ ทำการรังวัดตามแผนที่เอกสารหมาย จ.๕
โดยพยานเป็นผู้เขียนตัวเลขกำกับหมุดในแผนที่ดังกล่าว ต่อมาพยานได้นำแผนที่เอกสารหมาย จ.๕
ไปมอบให้แก่วัดโจทก์โดยผ่านทางกำนัน
นายสมชายพยานโจทก์เบิกความว่า พยานเป็นลูกจ้างของนายอุ่นมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๖
จนถึงขณะเบิกความเมื่อปี ๒๕๔๒
พยานเคยได้รับคำสั่งจากนายจงเต็กให้ไปรังวัดที่ดินซึ่งนายจงเต็กชี้ให้รังวัด เมื่อรังวัดแล้วใช้ไม้กลมตอกเป็นหมุดแสดงอาณาเขต ต่อมาหลังจากรังวัดไม่เกิน ๑
เดือน นายอุ่นสั่งให้นำเสาคอนกรีตไปปักไว้แทนเสาไม้ รูปแผนที่ที่ดินที่พยานรังวัดปรากฏตามเอกสาร
หมาย
จ.๕ จำเลยที่ ๑
เบิกความว่า จำเลยที่ ๑ ซื้อที่ดินจากนายจำรัส กองทัพ เนื้อที่ประมาณ ๑๕
ไร่ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓
ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ทำสัญญาซื้อขายไว้เป็นหลักฐาน แต่ต้นฉบับสูญหาย จำเลยที่
๑ ได้แจ้งความไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเป็นหลักฐานตามสำเนาสัญญาซื้อขายและรายงานประจำวันเอกสารหมาย ล.๑๖
ล.๑๗ ต่อมาจำเลยที่ ๑
ได้ซื้อที่ดินติดกับที่ดินของนายจำรัสอีกหลายแปลง รวมเป็นที่ดิน
๓๓ แปลง เนื้อที่ไม่น้อยกว่า ๘๐
ไร่ ที่ดินพิพาท
เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำนวน ๘๐
ไร่ดังกล่าว ต่อมาปี ๒๕๒๑
จำเลยที่ ๑ ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง
จังหวัดภูเก็ต
ตามแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์
เพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศและหนังสือรับรองการทำประโยชน์เอกสารหมาย จ.๖
และ จ.๗ นายมานิตย์
พันธ์ฉลาด พยานจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ เบิกความว่า
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของนายโหมด
ต่อมา
ตกได้แก่นายสาด และต่อมาตกได้แก่นายจำรัสบุตรนายสาด นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านเข้าไปจับจองอีกหลายคน ต่อมานายสาด
นายจำรัส
และชาวบ้านขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๑
เห็นว่า
ในปัญหาว่านายอุ่นยกที่ดินให้โจทก์จริงหรือไม่นั้น พยานบุคคล
ของโจทก์เบิกความสอดคล้องต้องกัน
พยานโจทก์ดังกล่าวล้วนไม่มีส่วนได้เสียกับที่ดินพิพาท คำเบิกความจึงน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับเอกสารหมาย ล.๒ ซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ ๒๕
กุมภาพันธ์ ๒๕๑๒ ระบุว่า
นายอุ่นสัญญาจะยกที่ดินให้แก่โจทก์เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า ๑๕
ไร่ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่านายอุ่นได้ยกที่ดินให้แก่โจทก์จริง ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า พยานโจทก์ไม่สามารถยืนยันได้ว่าที่ดินที่นายอุ่นยกให้โจทก์อยู่ตรงบริเวณใดนั้น เมื่อพิจารณาแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.๑ เปรียบเทียบกับแผนที่เอกสารหมาย จ.๕
ซึ่งเป็นรูปแผนที่ของที่ดินที่นายอุ่นยกให้โจทก์ และแผนที่ตามเอกสารหมาย ล.๑๑
ที่จำเลยที่ ๑ ให้นายพิศิษฐ์ศักดิ์ สาเหล่
ทำขึ้นแสดงบริเวณที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วจะเห็นได้ว่ามีรูปที่ดินใกล้เคียงกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่านายอุ่นยกที่ดินตามแผนที่เอกสารหมาย จ.๕ ซึ่งรวมถึงที่ดิน พิพาทตามแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.๑
ด้วยให้แก่โจทก์
พยานหลักฐานฝ่ายจำเลย
ที่จำเลยที่ ๑
นำสืบว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากนายจำรัสเมื่อปี ๒๕๑๓
ตามสำเนาสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย ล.๑๖
โดยต้นฉบับสัญญาสูญหายจำเลยที่
๑ ได้แจ้งความไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจเป็นหลักฐานตามเอกสารหมาย ล.๑๗
นั้น ไม่ปรากฏว่าได้มีการระบุถึงเอกสารหมาย ล.๑๖
ไว้ในเอกสารหมาย ล.๑๗ แต่อย่างใด
แม้จำเลยที่ ๑ จะมีมานิตย์อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕
ตำบลเชิงทะเล ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑
ถึงปี ๒๕๓๘ มาเบิกความว่า นายจำรัสขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ ๑
มานานกว่า ๑๐ ปีแล้ว
แต่พยานก็เบิกความต่อไปว่า พยานทราบภายหลังจากการที่พยานตรวจดูเอกสารที่จำเลยที่ ๑ ยื่นขอสอบสวนสิทธิ ดังนี้
ข้ออ้างของจำเลยที่ ๑
ที่ว่าได้ที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจากนายจำรัสตั้งแต่ปี ๒๕๑๓
จึงมีแต่คำเบิกความของจำเลยที่
๑ เพียงปากเดียวลอย ๆ
โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน
นอกจากนี้โจทก์และจำเลยที่ ๑ นำสืบรับกันว่า หลังจากจำเลยที่ ๑ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ตามเอกสารหมาย จ.๗ แล้ว
โจทก์ร้องเรียนต่อทางราชการว่าจำเลยที่
๑
ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวทับที่ดินของโจทก์ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันต่อหน้านายอำเภอถลางเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๒๑
ตามเอกสารหมาย จ.๘ โดยข้อความในเอกสารดังกล่าวข้อ ๑
ระบุว่า
ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๓๔๗
ตำบลเชิงทะเล
ซึ่งได้นำเจ้าหน้าที่รังวัดสอบสวนสิทธิ
ตลอดจนรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ไปแล้ว แต่โจทก์อ้างว่าทับที่ดินของโจทก์ส่วนหนึ่งนั้น จำเลยที่
๑
ยอมตกลงแบ่งที่ดินแปลงนี้ให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันโดยไม่มีเงื่อนไขแต่ประการใด และข้อ ๒
ระบุว่า นายสัมฤทธิ์ สระบัว
ไวยาวัจกรของโจทก์ยอมตกลงรับที่ดินส่วนที่แบ่งออกมาจากข้อ ๑
ตามอาณาเขตซึ่งจำเลยที่ ๑ กับโจทก์จะไปรังวัดตรวจสอบทำแผนที่ให้เป็นการละเอียดและแน่นอนต่อไป ดังนี้ย่อมเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ ๑
ยอมรับว่าออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(น.ส. ๓ ก.) เลขที่ ๑๓๔๗
ทับที่ดินของโจทก์
เพียงแต่ยังไม่ทราบจำนวนเนื้อที่แน่นอนว่าทับกันเป็นจำนวนเท่าใด
โดยจะต้องรังวัดให้เป็นที่ชัดเจนแน่นอนแล้วจำเลยที่ ๑
จะแบ่งให้โจทก์ หาใช่ยังไม่แน่นอนว่าทับกันหรือไม่ดังที่จำเลยที่ ๑
กล่าวอ้างไม่
พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่ และสามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยนายอุ่นยกให้ตั้งแต่ปี ๒๕๑๖
ที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่ ๓
ฎีกาว่า
โจทก์ไม่เคยใช้ที่ดินพิพาททำพิธีทางศาสนาและไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ธรณีสงฆ์ของโจทก์นั้น เห็นว่า
ที่ดินพิพาทเป็นสมบัติของโจทก์ประเภทที่ธรณีสงฆ์ โจทก์จึงอาจใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ทำพิธีทางศาสนาได้ และเมื่อโจทก์ได้รับยกให้ซึ่งที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แล้วแม้จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนก็ไม่ทำให้ไม่เป็นที่ธรณีสงฆ์ดังที่จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ ฎีกา
ที่จำเลยที่ ๑ ถึงที่
๓ ฎีกาว่า โจทก์สละการครอบครองไม่ยึดถือที่ดินพิพาทต่อไป
การครอบครองของโจทก์สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๑๓๗๗ วรรคหนึ่ง นั้น
ข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ได้ปลูก
ต้นมะม่วงหิมพานต์และต้นมะพร้าว รวมทั้งได้ปักเสาปูนซิเมนต์แสดงอาณาเขต แสดงว่า
โจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว การที่ต่อมาจำเลยที่ ๑
เข้าแย่งการครอบครอง
จะถือว่าโจทก์สละการครอบครองหาได้ไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ ฟังไม่ขึ้น
ที่จำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓ ฎีกาว่า
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดเกิน
๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิดโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น เห็นว่า
จำเลยที่ ๑ ถึงที่
๓
ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เรียกค่าเสียหายขาดอายุความ ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๘
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา
๒๔๙ วรรคหนึ่ง ฎีกานอกจากนี้ของจำเลยที่ ๑
ถึงที่ ๓
ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ ๔
ต่อไปว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจำนองระหว่างจำเลยที่ ๑
กับจำเลยที่ ๔ หรือไม่
โดยจำเลยที่ ๔ ฎีกาว่า
จำเลยรับจำนองโดยสุจริตไม่รู้เห็นกรณีพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑
ก่อนรับจำนอง เห็นว่า
เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ ๑ ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. ๓ ก.)
เลขที่ ๑๓๔๗ ทับที่ดินของโจทก์โดยไม่ชอบ
จำเลยที่ ๑ ก็ไม่มีสิทธินำที่ดินของโจทก์ไปจำนองไว้กับจำเลยที่ ๔
ดังนั้น แม้จำเลยที่ ๔
จะรับจำนองโดย
สุจริต
โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์
รวมทั้งนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่
๑ กับจำเลยที่ ๔
ได้ ฎีกาของจำเลยที่ ๔ ในข้อนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
นายชินวิทย์ จินดา แต้มแก้ว
นายพีรพล พิชยวัฒน์
นายพิสิฐ ฐิติภัค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น